บทความใหม่

 


โรคกลัว (Phobia) อาการทางจิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว


คนทุกคนย่อมมีความกลัว นักชีววิทยาเชือว่า มนุษย์กลัวเพื่อให้อยู่รอด แต่บางคนก็มองความกลัวของผู้อื่นเป็นเรื่องตลกค่ะ ครั้งที่แล้วเรารู้จักกับไซโคพาธไปแล้ว วันนี้เราเลยจะมารู้จักโรคกลัวกันค่ะ


โรคกลัว (Phobia) คืออะไร

 

โรคกลัว เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือสถานการณ์เฉพาะ ซึ่งจะเป็นไปอย่างไร้เหตุผล และจะกลัวเฉพาะสิ่งเร้าบางอย่างเท่านั้น เช่น โรคกลัวเจ้านาย (Bossophobia) โรคกลัวการลงโทษ (Poinephobia) โรคกลัวที่ทำงาน (Workplace Phobia) โรคกลัวความล้มเหลว (Atychiphobia) โรคกลัวการตัดสินใจ (Decidophobia) เป็นต้น โรคเหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่ไม่น่ากลัวและคนทั่วไปไม่กลัวกัน ในกรณีรุนแรงไม่เพียงแค่จะมีอาการหวาดกลัวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเอ่ยถึง หรือเห็นสิ่งที่มีความใกล้เคียงกันจะทำให้รู้สึกกลัวด้วย

 

โรคกลัวเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

โรคกลัวจัดเป็นโรคที่ผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่เกิดขึ้นของโรคอย่างชัดเจน แต่เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากปมในอดีตที่ฝังใจ หรือติดค้างอยู่ในจิตใต้สำนึกที่อาจเคยพบเจอเหตุการณ์ไม่ดีกับสิ่งนั้นมาก่อน เช่น อาจเคยถูกตำหนิบ่อย ๆ อาจเคยมีปัญหากับที่ทำงานอย่างรุนแรง เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความไม่สมดุลกันของสารเคมีในสมอง และการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอีกด้วย อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเกิดโรคจะขึ้นอยู่รายบุคคลที่แตกต่างกันไป

 

อาการของโรคกลัว

 

ผู้ป่วยจะเกิดอาการผิดปกติขึ้นอย่างกะทันหัน เมื่อพบกับสิ่งที่กลัว ดังนี้

  • กล้ามเนื้อตึงตัว รู้สึกชาวูบขึ้นมาทั้งตัว
  • ปวดศีรษะ
  • ใจสั่น หายใจไม่ทัน หายใจไม่ทั่วท้อง
  • มือสั่น ปากสั่น เหงื่อออก
  • อาจมีอาการรู้สึกวิงเวียน และหมดสติได้

  • สามารถรักษาด้วย 2 วิธี ได้แก่

    • พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy) เป็นวิธีปรับความคิดที่กระตุ้นอาการกลัว โดยให้ผู้ป่วยเข้าหา เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว หรือสถานการณ์ที่หวาดกลัวแบบค่อยเป็นค่อยไป (graded exposure) เพื่อสร้างความเคยชิน แม้ในช่วงแรกผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายใจเมื่อต้องเผชิญต่อสิ่งที่กลัว แต่เมื่อใช้วิธีนี้ซ้ำ ๆ จะทำให้ผู้ป่วยเคยชิน และเกิดความกลัวลดน้อยลง
    • การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy) แพทย์จะพิจารณากับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล โดยแพทย์จะใช้วิธีนี้กับผู้ป่วยที่กลัวมากจนไม่สามารถทำพฤติกรรมบำบัดได้ ยาที่นำมาใช้ในการรักษา เช่น ยาแก้โรคซึมเศร้าบางชนิด ยาแก้โรคจิตบางชนิด เป็นต้น เพราะการให้ยาจะช่วยให้ผู้ป่วยกลัวน้อยลง แต่วิธีนี้ไม่ทำให้โรคหายขาดได้จึงต้องทำร่วมกับการบำบัด หากผู้ป่วยประสบความสำเร็จในการทำพฤติกรรมบำบัดแพทย์จะค่อย ๆ ลดยาลงจนหยุดยา

     















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น