บทความ

 

อะไรทำให้คนเรากลายเป็น “ไซโคพาธ” หรือมีบุคลิกผิดปกติไร้ความรู้สึกไปได้

 หลายๆคน คงรู้จักโรคนี้ผ่านตามาบ้างเพราะพวกเขามักเป็น ตัวร้าย หรือ ฆาตกร ใน หนังซีรี่ย์ ภาพยนต์ 

โดยที่ครั้งที่เราจะมารู้จัก psycopath ผ่าน

ศาสตราจารย์จิม เฟลลอน เป็นพวก "ไซโคพาธ" หรือ คนที่มีบุคลิกผิดปกติแบบต่อต้านสังคมประเภทหนึ่ง แต่เขาไม่ได้มีพิษมีภัยอะไร

ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมมนุษย์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เออร์ไวน์ ผู้นี้ทำการทดลองโดยใช้ภาพสแกนสมองของสมาชิกครอบครัวตัวเองและฆาตกรหลายราย ในการทดลอง

ศ.เฟลลอน วิเคราะห์สแกนสมองชิ้นหนึ่งและพบว่า "คน ๆ นี้ ไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตาม ไม่ควรถูกปล่อยให้เดินเหินอย่างเป็นอิสระ เขาน่าจะเป็นบุคคลที่อันตรายมาก"

ไม่นาน ศ.เฟลลอน ก็พบว่า สมองของคนดังกล่าวกลับกลายเป็นของตัวเขาเอง

เว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขของไทย ระบุว่า ไซโคพาธ (psychopaths) เป็นบุคคลที่มีอาการของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) โดยมีลักษณะ ขาดความเห็นใจผู้อื่น, ขาดความสำนึกผิด, ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว, ขาดความยับยั้งชั่งใจ และ เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง







จากที่อ่านข้างต้นมาในเมื่อคุณเฟลลอนเป็นทั้งอาจารย์จิตวิทยาและไซโคพาธแล้วไซโคพาธทุกคนอันตรายหรือเปล่า

แต่ ศ.เฟลลอน ไม่เคยฆ่าใคร และเขาบอกว่าตัวเองเป็นคนนิสัยน่ารัก แล้วเขาจะเป็นไซโคพาธไปได้อย่างไร

เขาบอกว่าตัวเองเป็นไซโคพาธที่ไม่ได้ต่อต้านสังคมและไม่ได้มีลักษณะการเป็นอาชญากรเหมือนคนอื่น

สถิติระบุว่า ในทุก 100 คน จะมีคนที่เป็นไซโคพาธอยู่หนึ่งคน และแม้ว่าอาชญากรก่อเหตุรุนแรงหลายคนจะอยู่ในประเภทนี้ กรณีของ ศ.เฟลลอน ก็แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ไซโคพาธทุกคนที่จะก่อเหตุรุนแรงเสมอไป

คำถามสำคัญ คือ คนเราเกิดมาแล้วกลายเป็นไซโคพาธ หรือมาจากปัจจัยจากการเลี้ยงดู?


เราหาคำตอบนี้ด้วยการหาวิจัย จนพบว่าการสแกนสมองพบว่าความเคลื่อนไหวในสมองบางส่วนของคนเป็นไซโคพาธและคนทั่วไปไม่เหมือนกัน ไซโคพาธที่ก่อเหตุรุนแรงมีส่วนที่เป็นสีเทาในสมองส่วนหน้าซึ่งมีความสำคัญสำหรับการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่นน้อย สมองส่วนนี้จะทำงานเมื่อเรานึกถึงเรื่องศีลธรรม

นอกจากนี้ ไซโคพาธยังมีสมองส่วนที่เรียกว่า อมิกดาลา (amygdala) ซึ่งมีลักษณะคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ เล็กกว่าคนทั่วไปมาก โดยสมองส่วนนี้มีความเชื่อมโยงกับความรู้สึกกลัว

หากเห็นความแตกต่างนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย นี่อาจสะท้อนว่าการเป็นไซโคพาธเป็นผลมาจากพื้นฐานทางพันธุกรรม

อย่างไรก็แล้วแต่ พฤติกรรมส่วนหนึ่งของไซโคพาธ ก็มาจากทั้งสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู โดยเฉพาะสิ่งเร้าที่กระตุ้นการนึกคิดแบบนั้น แต่สุดท้าย ไซโคพาธไม่ใช่ฆาตกรหรือปีศาจทุกคนเพราะสุดท้ายแล้วพวกเขาคือคนที่กำลังป่วย แค่ให้โอกาสพวกเขาในการปรับตัวเข้าสู่สังคมอีกครั้งเท่านั้นเอง











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น